fbpx

หนังสือมอบอำนาจทั่วไป ใช้งานอย่างไรให้ถูกต้องและปลอดภัย

หนังสือมอบอำนาจทั่วไป

ในการทำธุรกรรมบางอย่างหากบุคคลใดไม่สามารถมากระทำการได้ด้วยตัวเอง มักจะมีการมอบอำนาจให้ผู้อื่นมากระทำแทนตน โดยใช้หนังสือมอบอำนาจทั่วไป หรือเรียกกันติดปากว่า ใบมอบอำนาจ

หนังสือมอบอำนาจทั่วไป คืออะไร

หนังสือมอบอำนาจทั่วไป คืออะไร

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการมอบอำนาจกันเสียก่อน การมอบอำนาจ คือ การที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า ตัวการ มอบให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอำนาจทำการแทน หรือการกระทำนั้นมีผลทาง กฎหมายเสมือนว่าตัวการทำด้วยตนเอง โดยการมอบอำนาจนั้นจะมีการมอบอำนาจก็ต่อเมื่อบุคคลที่เป็นตัวการไม่สามารถไปกระทำการใดๆได้ด้วยตนเอง โดยมีการใช้หนังสือมอบอำนาจทั่วไป หรือใบมอบอำนาจ ซึ่งทำเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้บุคคลที่เป็นตัวแทนหรือผู้รับมอบอำนาจเก็บไว้เป็นหลักฐาน เพื่อไปกระทำการแทนตนได้

ทั้งนี้ในการทำธุรกรรมบางประเภท เช่น การโอนรถที่ขนส่งหรือการมอบอำนาจที่ดิน จะต้องใช้หนังสือมอบอำนาจที่มีแบบฟอร์มเฉพาะหน่วยงาน ซึ่งมีความแตกต่างกันออกไป โดยก่อนจะทำธุรกรรมใด ควรสอบถามกับหน่วยงานนั้นเพื่อความถูกต้องของเอกสารนั่นเอง

หนังสือมอบอำนาจทั่วไป มีรายละเอียดอะไรบ้าง

หนังสือมอบอำนาจทั่วไป มีรายละเอียดอะไรบ้าง

หนังสือมอบอำนาจ เป็นการมอบอำนาจจากตัวการให้ตัวแทนหรือผู้รับมอบอำนาจ กระทำการแทนตนโดยมีตามกฎหมายเสมือนว่าตัวการทำด้วยตัวเอง ทั้งนี้ในหนังสือมอบอำนาจจะต้องบอกรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้

  1. สถานที่ที่เขียนหนังสือมอบอำนาจทั่วไป
  2. วันเดือนปีที่ออกหนังสือมอบอำนาจ
  3. รายละเอียดของผู้มอบอำนาจ
  4. รายละเอียดของผู้รับมอบอำนาจ
  5. เรื่องที่จะให้กระทำการแทน
  6. ลายมือชื่อผู้มอบอำนาจ
  7. ลายมือชื่อผู้รับมอบอำนาจ
  8. ลายมือชื่อพยาน 2 คน

ข้อควรระวังในการทำหนังสือมอบอำนาจทั่วไป

ข้อควรระวังในการทำหนังสือมอบอำนาจทั่วไป
  1. ระบุเรื่องและอำนาจจัดการให้ชัดเจนว่า มอบอำนาจให้ทำอะไร เช่น ซื้อขาย จำนอง ฯลฯ ถ้ามีเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติมก็ให้ระบุไว้ด้วย
  2. อย่ากรอกข้อความให้ต่างลายมือและใช้น้ำหมึกต่างสีกันถ้าใช้เครื่องพิมพ์ดีดก็ต้องเป็นเครื่องเดียวกัน
  3. หากมีการขูดลบ ตกเติม แก้ไข ขีดฆ่า ให้ระบุว่า ขีดฆ่าตกเติมกี่คำ และผู้มอบอำนาจต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วยทุกครั้ง
  4. อย่าลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจ ก่อนกรอกข้อความครบถ้วน และถูกต้องตามความประสงค์แล้วหรืออย่าลงชื่อในกระดาษเปล่าซึ่งยังมิได้กรอกข้อความเป็นอันขาด
  5. ให้มีพยานอย่างน้อย 1 คน ถ้าผู้มอบอำนาจพิมพ์ลายนิ้วมือต้องมีพยาน 2 คน พยานต้องเซ็นชื่อเท่านั้น จะใช้วิธีพิมพ์ลายนิ้วมือไม่ได้

หนังสือมอบอำนาจทั่วไป กับ หนังสือมอบฉันทะ ต่างกันอย่างไร

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้วบางคนอาจจะเกิดความสงสัยและสับสนระหว่างหนังสือมอบอำนาจทั่วไปกับใบมอบฉันทะ เพราะเอกสารทั้งสองแบบถิอเป็นเอกสารที่มอบอำนาจให้ผู้อื่นกระทำการแทนตนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องกฎหมาย ธุรกรรมการเงิน หรือ ธุระต่าง ๆ แต่ทั้งนี้เอกสารทั้ง 2 แบบ ยังมีข้อแตกต่างในเรื่องของการนำไปใช้ดังนี้

  1. หนังสือมอบอำนาจทั่วไป หนังสือมอบอำนาจ ที่มอบหมายให้มี “อำนาจ” ในการจัดการ หรือทำแทนบุคคลใดบุคคลหนึ่ง โดยชอบตามกฎหมาย การมอบอำนาจนั้นบังคับทำเป็นหนังสือที่มีลายลักษณ์อักษร เพื่อยืนยันว่าบุคคลหนึ่งเป็นผู้ที่มีสิทธิ์ใช้อำนาจแทนตัวเองเป็นการเฉพาะเรื่องภายในขอบเขตที่กำหนด
  2. หนังสือมอบฉันทะ คือ หนังสือมอบฉันทะ ที่มอบธุระให้ผู้อื่นไว้ด้วยความ “ไว้วางใจ” และยินยอมให้ทำธุระต่างๆ แทนตนเอง โดยจะต้องมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ใช้การมอบให้ใช้อำนาจ แต่เป็นการขอให้ดำเนินการเรื่องธุระทั่วไปให้เท่านั้น

ความรับผิดชอบของ ตัวการ และตัวแทนเป็นอย่างไร

ตัวการย่อมมีผลผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำการใดๆที่ตัวแทนได้ทำไป ตามที่ตัวการได้มอบหมายให้ทำ และการกระทำนั้นมีผลทางกฎหมายเสมือนว่าตัวการทำด้วยตัวเอง

ดาวน์โหลดหนังสือมอบอำนาจ

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับ หนังสือมอบอำนาจทั่วไป จุดประสงค์การใช้งานและข้อควรระวังในการใช้งานหนังสือมอบอำนาจทั่วไปได้มากยิ่งขึ้น เพราะหนังสือมอบอำนาจทั่วไปหากคุณมอบอำนาจให้ใครไปกระทำการแทนแล้ว ไม่ว่าผู้รับมอบอำนาจจะกระทำการใดก็เสมือนกับคุณได้กระทำการนั้นเองจึงต้องมีการใช้เอกสารนี้อย่างระมัดระวังด้วยค่ะ

ติดตามบทความอื่นๆ ของ KMCP Accounting ได้ที่:

บทความ: https://www.kmcpaccounting.com/บทความ/

Facebook: facebook.com/kmcp.acc

สนใจอยากทำบัญชีทักมาได้เลย: m.me/kmcp.acc

LINE: https://line.me/R/ti/p/@kmcp.acc

Tel: 082-254-6831